วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

>.<สิ่งทีไม่ควรทำก่อนนอน >.<

• อย่าที่ 1 คือ อย่านอนหลับไปพร้อมๆ กับนาฬิกาข้อมือ ก็เพราะขณะที่นาฬิกาเจ้ากรรมทำงานไปเรื่อยๆ นั้น เจ้านาฬิกาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ล้วนปล่อยพลังงานทั้งสิ้น

• อย่าที่ 2 นี่ สำหรับพวกชอบ คุยโทรศัพท์มือถือจนหลับโดยเฉพาะเลย ไม่ควรนอนหลับไปพร้อมๆ กับโทรศัพท์ เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ๆ ตัวด้วยเพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า โทรศัพท์มือถือ เครื่องจิ๋วเนี่ย จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาขณะเปิดเครื่องไว้ และเจ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้ มีผลกับระบบประสาทซะด้วยสิ เพราะฉะนั้น ตอนนอนก็ปิดโทรศัพท์มือถือซะดีกว่า

• อย่าที่ 3 ง่ายๆ สั้นๆ คือ อย่าหลับพร้อมๆ กับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเหนื่อยอ่อนเมื่อยล้าขนาดไหน ต้องล้างเครื่องสำอางออกให้หมด เพราะการหลับทั้งๆ ที่เครื่องสำอางยังคาอยู่ที่ผิวหน้านั้น จะก่อให้เกิดปัญหาด้านผิวพรรณระยะยาว

• อย่าที่ 4 ( สำหรับสาวๆ เท่านั้น) คือ อย่านอนหลับทั้งๆ ที่ยังใส่ยกทรงนักวิทยาศาสตร ์ชาวอเมริกัน ค้นพบว่าการใส่ยกทรงนานเกิน 12 ชั่วโมง จะเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทรวงอกได้ ฉะนั้น ก็อย่าใส่ยกทรงนอนเลย ไม่ต้องกลัวเสียทรง ไม่ต้องกลัวอกแบะ ห่วงชีวิตไว้ก่อนดีกว่า

• อย่าที่ 5 อันนี้เหมาะกับทุกเพศเลยนะ ' อย่านอนกับสามีหรือภรรยาของคนอื่น ' เพราะคุณอาจจะไม่ได้ตื่นอีกเลย …( อันนี้ไม่ได้ล้อเล่นนะ 5555+++)

ปล. นล้วอย่าลืมทำตามกันนะค่ะ เพื่สุขภาพของเพื่อนๆค่ะ
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1151382

วันนี้ก็มีการบ้านมาบอกเพื่อนๆนะค่ะ

วันนี้ก็จะมาเตือนความจำของเพื่อนในเรื่องการบ้านมาบอกนะนคะ
อย่างแรกนะคะ งานอาจารย์สุญณีค่ะ จะต้องนำงานทั้งหมดของเพื่อนๆที่เคยทำ
นะคะ มา write ใส่ ซีดี แล้วมาส่ง และก็ยังมีงานของ อาจารย์สุญาณีในเทอมหน้าอีกด้วย
ที่ต้องหาเพลงที่แม่ของเพื่อนชอบอย่าลืมล่ะ

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

เกี่ยวกับ นิราศนรินทร์

สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็มีเรื่องเกียวกับนิราศนริน มาให้ทราบกันนะคะ
หวังว่ามันจะมีประโยชน์บ้างนะต่ะ
นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์"และ
"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่า ในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพร ในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้น วรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย
เนื้อหาของนิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจาก กำสรวลศรีปราชญ์ (ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหู ข้อความกระชับ ลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้