1. ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ได้แก่
ก. ลูกคิดของชาวจีนโบราณ
ข. Slide Rule
ค. ตารางลอการิทึม
ง. เครื่องบวกเลขของปาสคาล
คำตอบคือ ก. ลูกคิดของชาวจีนโบราณ
ชาวจีนในประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสตกาล ได้เป็นคนประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ ขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์
ทีทมา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=52653
2.คอมพิวเตอร์ในยุคใดที่ใช้ทรานซิสเตอร์
ก. ยุคที่ 1
ข. ยุคที่ 2
ค. ยุคที่ 3
ง. ยุคที่ 4
คำตอบคือ ข. ยุคที่ 2
ยุคที่ 2 ใช้ทรานซิชันแทนหลอดสุญญากาศเพื่อให้คอมพิวเตอรืมีขนาดเล็กลง ใชไฟน้อย ความร้อนน้อย อายุการใช้งานที่ยาวนาน ราคาที่ถูกลง
ที่มา http://math.sci.tsu.ac.th/tcweb/suda/0214101/L1.ppt#268,13,ภาพนิ่ง 13
3.แป้นพิมพ์ (Keyboard) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะใช้ตามมาตรฐานของ ไอบีเอ็ม คือมีกี่ปุ่ม
ก. 90
ข. 91
ค. 100
ง. 101
คำตอบคือ ง. 101
แป้นพิมพ์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยปุ่มต่างๆ ตามมาตรฐานของไอบีเอ็ม จำนวน 101 ปุ่ม ยกเว้นแป้นพิมพ์ของเครื่องโน๊ตบุ๊คที่อาจมีปุ่มน้อยกว่านี้ ในปัจจุบันมีแป้นพิมพ์แบบ 104 ปุ่มที่ใช้สำหรับ Windows 95 ด้วย
ที่มา http://www.edu.nu.ac.th/wbi/366514/P4_3_1(Keyboard)1.htm
4. ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ก. เครื่องพิมพ์
ข. เป็นตัวกลางในการรับคำสั่ง
ค. เครื่องถ่ายเอกสาร
ง. เป็น ซีพียู
เป็นตัวกลางในการทำงานคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิธิภาพ
บทที่ 2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux เป็นต้น
ที่มา http://web.bsru.ac.th/~panna/chapter2.ppt#256,1,
5. เทคนิคการปิดกั้น มีกี่ชนิด
ก. .2 ชนิด
ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด
ง. ชนิดเดียว
ประเภทของการปิดกั้น
การปิดกั้นที่จะกล่าวถึงในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การปิดกั้นแบบร่วม (Shared Lock หรือ Read Lock หรือ S Lock) เป็นการปิดกั้นที่ยอมให้ผู้ใช้หลายคนสามารถทำการอ่านรายการหนึ่ง ๆ ร่วมกันได้ แต่ทำการแก้ไขไม่ได้
2.ารปิดกั้นแบบเฉพาะ (Exclusive Lock หรือ Write Lock หรือ X Lock) เป็นการปิดกั้นที่ทำได้โดยผู้ใช้หนึ่งคนเท่านั้น เมื่อผู้ใช้นั้น ๆ ต้องการทำการปิดกั้นแบบเฉพาะเพื่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ใช้อื่น ๆ จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายการนั้น ๆ ไม่ได้ ต้องคอยจนกว่าจะมีการปล่อยการปิดกั้น
ที่มา http://cs.hcu.ac.th/e-learning/distributed/lesson4/lesson_4_2_5.htm
6. ปัญหาจากการใช้เทคนิคการปิดกั้น
ก. การหยุดชะงัก hang
ข. การล้มเหลว failure
ค. .การติดตายของรายการ deadlock
ง. การติดวงจร looping
ถึงแม้ว่าเทคนิคการปิดกั้นจะช่วยแก้ปัญหาการเกิดภาวะพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อมูลไม่ได้ถูกปรับให้ถูกต้อง ปัญหาข้อมูลถูกปรับเปลี่ยนค่าไม่เสร็จสมบูรณ์ หรือปัญหาการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของข้อมูลไม่ถูกต้องตามที่ได้กล่าวมาในตอนต้น ปัญหาที่อาจจะเกิดจากการนำเทคนิคการปิดกั้นมาใช้ คือ การปิดตายของรายการ (Deadlock) การปิดตายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีรายการอย่างน้อยสองรายการต่างหยุดรอซึ่งกันและกัน เช่น จากตารางที่ 4.5 รายการ T1 และ T2 ต่างหยุดรอซึ่งกันและกัน
ที่มา http://cs.hcu.ac.th/e-learning/distributed/lesson4/lesson_4_2_6.htm
7. ความบูรณภาพของข้อมูลคือ ข้อใด
ก. การควบคุมความปลอดภัย
ข. สิทธิการใช้ข้อมูล
ค. .การควบคุมความถูกต้องของข้อมูล
ง. การควบคุมบัญชีผู้ใช้
ความบูรณภาพของข้อมูล ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับผู้ใช้ข้อมูลอยู่เสมอคือ การที่แฟ้มข้อมูลไม่มีความบูรณภาพของข้อมูล (data integrity) กล่าวคือ ขาดความครบถ้วนหรือขาดความพอดี สาเหตุอาจเกิดจากการที่แต่ละหน่วยงานมีการออกแบบและสร้างแฟ้มข้อมูลของตนเองขึ้นเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย
ที่มา http://www.lks.ac.th/kuanjit/acc04.htm
8. ตัวเครื่อง แป้นพิมพ์ จอภาพและสื่อเก็บข้อมูล เรียกว่าอะไร
ก. hardware
ข. softtware
ค. pepleware
ง. operating system
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ที่มา http://www.fms.nrru.ac.th/fms2008/index.php?option=com_content&task=view&id=82&Itemid=9
9. ส่วนประกอบระบบยูนิกซ์มี 4 ส่วน ส่วนที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับส่วนของเคอร์เนล เรียกว่าอะไร
ก. hardware
ข. shell
ค. kernel
ง. utilities
เชลส์ (Shell) เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับส่วนของเคอร์เนล โดยเชลส์จะทำหน้าที่ใน การรับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วทำการตีความหมาย เพื่อส่งต่อให้กับส่วนอื่น
ที่มา http://www.ziggamza.net/webboard/index.php?topic=34266.0;wap2
10. สิ่งที่เหมือนกันของคอมพิวเตอร์คือ
ก. รับข้อมูลและโปรแกรมตามคำสั่งที่ป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่อง
ข. ใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่มาก
ค. ประมวลผลลัพธ์ของข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ง. เวลาที่ใชงานประมวลผลมีความสามารถที่จะเก็บข้อมูลในหน่วยความจำสำรองได้เป็นจำนวนมาก
สรุป ประเภทคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษามีทั้งหมด 4 ชนิด แต่ละชนิดก็มีความสำคัญแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดและแบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ แต่สิ่งที่เหมือนกันของคอมพิวเตอร์
รับข้อมูลและโปรแกรมตามคำสั่งที่ป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่อง
ที่มา http://learners.in.th/blog/comed12/101718
11. ฮาร์ดแวร์แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. หน่วยรับข้อมูล
ข. หน่วยประมวลผลกลาง
ค. หน่วยความจำสำรอง
ง. ถูกทุกข้อ
ฮาร์ดแวร์แบ่งออกเป็น 4 หน่วย ได้แก่
1.หน่วยนำเข้าข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า “อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล” (Input Device)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล แสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นผลลัพธ์
จึงเรียกว่า “อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device)
4.หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากที่เราปิดเครื่องแล้ว ซึ่งสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการทำงานได้ต่อไปอนาคต
จะเห็นว่าส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าเปรียบเทียบกับตัวมนุษย์แล้ว จะมีความคล้ายคลึงกันมาก กล่าวคือ
ส่วนนำเข้าข้อมูล ประกอบด้วยตา หู หรือจมูก ส่วนประมวลผล ประกอบด้วยสมอง และส่วนแสดงผล
ประกอบด้วยมือสำหรับเขียน หรือปากสำหรับพูดเป็นต้น
ที่มา http://www.geocities.com/computer_home_p/hardware.html
12 . หน่วยความจำคือ
ก. อุปกรณ์ที่ยังไม่มีข้อมูลเก็บเอาไว้
ข. หน่วยนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลและเก็บโปรแกรมต่าง ๆ
ค. อุปกรณ์ของหน่วยความจำ ผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลได้
ง. อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่อง
หน่วยความจำ คือ ส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานและการประมวลผลของ คอมพิวเตอร์หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. หน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำภายใน (Primary Memory, Internal Memory) เป็นหน่วยความจำ ที่ใช้เก็บ โปรแกรม ข้อมูล ผลลัพธ์
2. หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External Memory) เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลสามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ที่นิยมใช้ปัจจุบัน เป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว (ความจุ 1.44 MB.), แผ่น Compact Disc: CD (ความจุ 650 MB.) ซึ่ง Compact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดี จึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลักเลยทีเดียว
ที่มา http://learners.in.th/blog/comed12/101718
ที่มาของคำถาม
http://www.bcoms.net/test_online/view.asp?subj=23&process=show
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ได้แก่
ก. ลูกคิดของชาวจีนโบราณ
ข. Slide Rule
ค. ตารางลอการิทึม
ง. เครื่องบวกเลขของปาสคาล
คำตอบคือ ก. ลูกคิดของชาวจีนโบราณ
ชาวจีนในประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสตกาล ได้เป็นคนประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ ขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์
ทีทมา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=52653
13. ฮาร์ดแวร์แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. หน่วยรับข้อมูล
ข. หน่วยประมวลผลกลาง
ค. หน่วยความจำสำรอง
ง. ถูกทุกข้อ
ทั้ง 3 ขิอนั้นถูกหมด เลย เพราะนั่นเป็ประเทของ Hard ware ทั้งสิ้น
14. ผู้ใดได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
ก. Blaise Pascal
ข. Cahrles Babbage
ค. Ada Augusta
ง. Willam Augtred
บุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ คือ Cahrles Babbage
ที่มา http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=30006
15. คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
ก. เครื่องคำนวณอัตโนมัติที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยการคำนวณ
ข. อุปกรณ์ที่สามารถจัดการและประมวลผลข้อมูลได้
ค. เครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติยุคใหม่
ง. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถรับข้อมูลประมวลผลและให้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์อย่างหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถจะรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล ทำการเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลบัพท์ตามที่ต้องการ
จากที่ให้มา ง. ถูก
ที่มา http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/introcom/1.htm
16. คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
ก. เครื่องคำนวณอัตโนมัติที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยการคำนวณ
ข. อุปกรณ์ที่สามารถจัดการและประมวลผลข้อมูลได้
ค. เครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติยุคใหม่
ง. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถรับข้อมูลประมวลผลและให้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ระบบคอมพิวเตอร์ คือองค์ประกอบหลักที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว
คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 อย่าง ดังนั้นจึงตอบ ง.
ที่มา http://cp101km.swu.ac.th/index.php/51102010432_%E0%B8%
17. 1 KB มีค่าเท่ากับ
ก. 1024 Bytes
ข. 1204 Bytes
ค. 1014 Bytes
ง. 1214 Bytes
k=103แต่ว่าเนื่องจากคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันทำงานกับเลขฐาน2ซึ่งโดยใช้ไฟฟ้าซึ่งในอนาคต
กำลังจะเปลี่ยนเป็นฐาน16โดยส่งข้อมูลโดยใช้การสปินตัวของอิเล็กตรอนครับ
และเนื่องจาก1024=210ซึ่งใกล้เคียงกับ1000มากที่สุดแล้ว
ดังนั้นเลยใช้1024แทน
ที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/48714/1
18. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกโลก
ก. Blaise Pascal
ข. Charles Babbage
ค. Lady Ada
ง. Willam Augtred
ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์นี้มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์"
ที่มา http://www.tutor-tan.com/webboard/show_detail.php?qid=130
19. ข้อใดคือ ลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในยุคที่ 1
ก. มีขนาดใหญ่ มีความร้อนน้อยและราคาแพง
ข. มีขนาดเล็กลง ความร้อนสูงและมีความร้อน
ค. มีขนาดเล็ก ต้องอยู่ในห้องปรับอากาศ
ง. มีขนาดใหญ่ ใช้ไฟฟ้าแรงสูง ต้องอยู่ในห้องปรับอากาศตลอดเวลา
ยุคที่1 จะใช้หลอดสุญญากาศ มีความร้อน ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ราคาแพง ใช้ไฟฟ้าสูง
ที่มา http://math.sci.tsu.ac.th/tcweb/suda/0214101/L1.ppt#267,12,ภาพนิ่ง 12
20. ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ก. เครื่องพิมพ์
ข. เป็นตัวกลางในการรับคำสั่ง
ค. เครื่องถ่ายเอกสาร
ง. เป็น ซีพียู
เป็นตัวกลางในการทำงานคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิธิภาพ
บทที่ 2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux เป็นต้น
ที่มา http://web.bsru.ac.th/~panna/chapter2.ppt#256,1,
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
สวัสดีจ่ะ
เรียบร้อยดี
แสดงความคิดเห็น